วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเมืองเรื่องไม่เครียด

การเมืองเป็นเรื่องเครียดมั้ย??? ถ้าทำให้เป็นเรื่องไม่เครียดล่ะ จะเป็นยังไง?? เพื่อนๆจะมีความคิดเห็นว่าไงบ้างไปดูกัน และไปคุยกับอาจารย์เด็กแนว เอ๊ย!! อาจารย์พิชญ์ ขวัญใจเด็กๆจากจุฬาฯ อาจารย์สอนการเมืองแบบไม่เครียดได้...

เยาวชนคอการเมือง

ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยปั­จจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งทางอุดมการณ์­ทางการเมือง ปัญหายาเสพติด ปัญหาการแย่งชิงการจัดการทรัพยากร หรือความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ บ่อยครั้งได้ขยายไปสู่การใช้ความรุนแรงซึ่­งส่งผลกระทบแก่เด็กและเยาวชน นอกจากนี้ กระแสบริโภคนิยมและอุดมการณ์ตลาดเสรีได้สร­้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มเยาวชนก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่ต­้องปรับตัวให้ขับเคลื่อนไปได้กับกระแสการเ­ปลี่ยนแปลงเหล่านั้น แต่ทว่าประเด็นด้านสังคมการเมืองมักถูกมอง­เป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ทำให้เยาวชนจำนวนมากซึ่งมีความสนใจและมีคว­ามตื่นตัวทางการเมืองขาดพื้นที่และโอกาสใน­การแสดงบทบาท หรือมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในประเด­็นปัญหาหรือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อตัวเขาแ­ละชุมชน เวทีสิทธิ...วิวาทะในครั้งนี้จึงเปิดโอกาส­ให้เด็กและเยาวชนในหลากหลายพื้นที่ ได้แสดงทรรศนะและมุมมองของพวกเขาที่มีต่อก­ารเมืองไทย นโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์รอบตัว

ผู้เข้าร่วมรายการ
นายลีโอ เจ๊ะกือลี ผู้ประสานงานเครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาชนบท­จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายวันเฉลิม ศรีกุตา เยาวชน โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์
นายอุทัย อารยาสรรค์สร้างเยาวชนเครือข่ายกลุ่มเกษตร­กรภาคเหนือ
นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบลสมาชิกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประ­เทศไทย
นางสาวณัศพร วังแก้วตัวแทนนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมสัง­คม มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ดำเนินรายการ
คุณสุนี ไชยรส

ปัญหาสำคัญของการเมืองไทย




ปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองของไทย


๖.๑  ปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองของไทย 

ปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย  คงอยู่ที่การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ซึ่งต้องยอมรับว่าในความเป็นจริง  ยังมีคนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ขาดความเข้าใจในความรู้ต่อกฎ กติการวมไปถึงกระบวนการทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  โดยเฉพาะเรื่องการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง  ยังมีพลเมืองอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงนอนหลับทับสิทธิ์  ทั้งที่เป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น  ยังคงมีการรับอามิสสินจ้างหรือสิ่งตอบแทนจากการไปลงคะแนนเสียง  ที่จริงถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนการเมืองไทยมีลักษณะดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่านเคยบันทึกในหนังสือ“Democracy in Siam”  พอจับใจความ ตอนหนึ่งว่า “ถ้ามีการยอมรับกันว่าวันใดวันหนึ่งเราอาจจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยแบบใดแบบหนึ่งในประเทศสยาม เราต้องเตรียมตัวของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป  เราจะต้องเรียนรู้และให้การศึกษาแก่ตัวของเราเอง  เราจะต้องเรียนและทดลองเพื่อจะได้รู้ว่าระบอบการปกครองแบบรัฐสภาจะดำเนินไปได้อย่างไรในประเทศสยาม  เราจะต้องพยายามให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อที่จะให้ประชาชนมีความสำนึกทางการเมือง ที่จะตระหนักถึงผลประโยชน์อันแท้จริงเหล่านี้ ( ของพวกเขา) เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ถูกชักนำไปโดยพวกนักปลุกระดม หรือพวกที่ฝันหวานถึงพระอาริย์  ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา เราจะต้องสอนประชาชนว่า จะออกเสียงอย่างไรและจะเลือกผู้แทนที่มีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขา อย่างแท้จริงอย่างไร.....มันจะเป็นการดีกว่าแน่นอน  สำหรับประชาชนที่เริ่มต้นด้วยการควบคุมกิจการท้องถิ่น ก่อนที่พวกเขาพยายามที่จะควบคุมกิจการของรัฐสภาโดยผ่านทางสภา  ข้าพเจ้าเชื่ออย่างจริงใจว่าถ้าการปฏิรูปเกล่านี้ ได้เริ่มใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่นวิธีนี้  การปกครองระบอบประชาธิปไตย สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่มีผลเสียมากนักถ้าการทดลองนี้ล้มเหลวในทุกขั้นตอนเมื่อนั้นจึงจะเป็นไปได้ที่จะจูงใจให้ประชาชนเชื่อได้ว่า  ประชาธิปไตยเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศสยาม  อันตรายอยู่ที่ความไม่อดทน” จากพระราชบันทึกดังกล่าวจะเห็นว่า  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแนวทางให้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย เกิดความพร้อมในประเทศไทยโดยเฉพาะความพร้อมในเรื่องของตัวประชาชนจะต้องเข้าใจหลักการ  จะต้องเรียนรู้หลักการของการปกครองแบบประชาธิปไตย  จะต้องเข้าใจกระบวนการอันเป็นหัวใจสำคัญ ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การเมืองการปกครองของประเทศไทยที่ผ่านมา ๗๐  กว่าปี มีบทเรียนหลายอย่างที่สอนเราคนไทยให้ประจักษ์แก่สายตา ดังจะนำเสนอให้เห็นในปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองของไทยในอดีตและปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน  ดังนี้คือ

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย บนเส้นทางสายปฏิวัติ

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย บนเส้นทางสายปฏิวัติ

บนเส้นทางอันยาวนานของประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีหลายต่อหลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์หักเหออกจากเส้นทางตามระบอบประชาธิปไตย มีการใช้กำลังทางทหารยึดอำนาจทางการเมืองโดยการปฏิวัติ รัฐประหาร และปฏิรูปหลายต่อหลายครั้ง บ้างสำเร็จ บ้างล้มเหลว แต่ก็สร้างผลสะเทือนต่อโฉมหน้าการเมืองไทยมิใช่น้อย

"ผู้จัดการปริทรรศน์" จะพาไปย้อนรอยเส้นทางการปฏิวัติในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ก่อนมาถึงฉากสุดท้ายของการโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ"

ย้อนรอย 'ทหาร' ผู้ก่อการ

'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมากมักจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะเพียงรัฐบาล แต่หากรัฐบาลใหม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองโดยสิ้นเชิงถือเป็นการ 'ปฏิวัติ' และหากการยึดอำนาจครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'รัฐประหาร' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

เมื่อสืบย้อนไปยังหน้าประวัติศาสตร์เก่าๆ ของการเมืองไทย จะพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายในลักษณะการปฏิวัติรัฐประหารมาตั้งแต่ก่อนสมัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียอีก

เหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 ในปี พ.ศ.2454 สมัยรัชกาลที่ 6 เสวยราชย์ได้เป็นปีที่ 2 มีคณะนายทหารที่เรียกว่า ‘คณะ 130’ (ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 130) ร่วมกันคิดการอันเป็นภัยต่อราชวงศ์ โดยซ่องสุมและคบคิดกันที่บริเวณย่านแพร่งสรรพศาสตร์ ซึ่งต่อมานายทหารกลุ่มนี้ก็ถูกจับกุมได้เสียก่อนลงมือกระทำการ คณะ 130 ถูกพิพากษาโทษลดหลั่นกันไป แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษทั้งหมด

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยได้เพียงปีเดียว ปีต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2476 คณะราษฎรที่นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย นับเป็นการกระทำรัฐประหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลและยึดอำนาจภายในกลุ่มคณะราษฎรด้วยกันเอง

Virtual classroom

ความหมายของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)

ห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom);หมายถึงการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน โดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียนแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท